บทความ พร้อมภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน
จำนวนผู้สูงอายุในสังคมไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่คนวัยทำงานใช้เวลาส่วนมากทำงานนอกบ้าน ทำให้การดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาลเป็นหน้าที่ของแพทย์และพยาบาล อีกทั้งอุปกรณ์เหล่านี้มีราคาแพง ระบบการเฝ้าระวังหรือแจ้งเตือนจึงถูกพัฒนามาเป็นลำดับ เช่น การใช้เซ็นเซอร์อินฟราเรด เซ็นเซอร์วัดแรง เซ็นเซอร์อัลตราซาวน์ ส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านการเชื่อมต่อแบบไร้สาย จากข้อมูลพบว่าสถิติการล้มของผู้ป่วยมากกว่าครึ่งเกิดขึ้นในห้องนอน และมากกว่าร้อยละ 80 เกิดขึ้นบริเวณรอบ ๆ เตียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขึ้น-ลงเตียง การพลัดตกหกล้มทำให้บาดเจ็บ และในกรณีผู้สูงอายุ การล้มผิดท่านำไปสู่การบาดเจ็บที่รุนแรงและนำไปสู่สมรรถภาพที่ถดถอยหรือเสียชีวิตได้ ผลงาน “Never Ever Falls” ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการตกเตียงสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และสามารถขยายไปสู่กลุ่มเด็กเล็กได้ เป็นนวัตกรรมที่พัฒนาโดย นายกิตติ ธำรงอภิชาตกุล นายชวกร ศรีเงินยวง นายวัชระพงษ์ ปิงเมือง นักศึกษาระดับปริญญาโท และ ดร.ปราการเกียรติ ยังคง จากสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้ายของการประกวด Thailand Life Sciences Contest 2018 จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้รับการสนับสนุน…
หนังสั้นแอนิเมชัน เรื่อง “VIRTUAL” ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตการทำงานของคนในวัยเริ่มต้นทำงาน สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ Gold Prize จากการประกวดผลงานแอนิเมชัน มัลติมีเดีย TBS DigiCon6 Thailand 2018 และเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันรายการระดับเอเชีย TBSDigicon6 Asia 20th
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำเสนอโครงงาน KMUTT Say No to single use plastic คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1 โครงงานความยั่งยืนของนิสิตนักศึกษา ภายใต้หัวข้อ “การลดปริมาณขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งในมหาวิทยาลัย” โดยมี ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย เป็นประธานมอบรางวัลในงานประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2561 ในหัวข้อ “ปฏิบัติการความยั่งยืน 2561: Action for the Goals” เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) รับโล่ “สถานศึกษาปลอดภัยดีเด่น ประจำปี 2561” จากกระทรวงแรงงาน
ผลงานระบบตรวจจับสสารด้วยวิธีการหลอมรวมภาพถ่ายเชิงสเปคตรัม โดยทีม inSpectra มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกอบด้วย นายสิรวิชญ์ บุตรมะรัถยา นายปวิณ เตโชโยธิน และนายสุทธิวัฒณ์ ส่งบุญแก้ว นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าถ้วยรางวัลเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี เยาวชนดีเด่นด้านดิจิทัล Prime Minister’s Digital Award 2018 ประเภท Digital Youth of the Year จัดโดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายสิรวิชญ์ บุตรมะรัถยา นายปวิณ เตโชโยธิน และนายสุทธิวัฒณ์ ส่งบุญแก้ว กล่าวว่า ทีม inSpectra ร่วมกันพัฒนาผลงานระบบตรวจจับการรั่วไหลของแก๊สด้วยภาพสเปกตรัม นวัตกรรมระบบตรวจจับสสาร ด้วยวิธีการหลอมรวมภาพถ่ายเชิงสเปคตรัม เพื่อเฝ้าระวังและตรวจจับการรั่วไหลของแก๊ส ช่วยเพิ่มมาตรการด้านความปลอดภัยให้แก่ภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล โดยหลักการของสเปคตรัมของแสงและการดูดกลืนพลังงานแสงในช่วงเฉพาะ หรือเรียกว่า Spectral signature มาใช้ในการตรวจจับสสาร ปัจจุบันตั้งเป้าโดยเน้นการตรวจจับการรั่วไหลของแก๊ส โดยพัฒนาร่วมกับบริษัท SCG Chemicals ซึ่งเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมีรายใหญ่ของประเทศ ที่มีความต้องการที่จะค้นหานวัตกรรมที่สามารถเข้ามาแก้ปัญหาการตรวจจับแก๊สซึ่งเป็นสสารที่มองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า…
3 ห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น ESPReL ระดับชาติ ประกอบด้วย 1. ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมอาหาร ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร 2. ห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาและชีววิทยา โรงงานต้นแบบผลิตยาชีววัตถุแห่งชาติ 3. ห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ได้รับรางวัล “ห้องปฏิบัติการปลอดภัยดีเด่น” เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อันจะนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งตามมาตรฐาน ESPReLในประเทศไทย จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยแม่ข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัยจากทั่วประเทศ พิธีมอบรางวัลจัดขึ้นในการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ประจำปี 2561 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมแกรนด์บอลรูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร เกณฑ์ ESPReL Checklist เป็นการสำรวจสภาพความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการ ทั้งหมด 7 ด้าน ประกอบด้วย การบริหารระบบ การจัดการความปลอดภัย ระบบการจัดการสารเคมี ระบบการจัดการของเสีย ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ ระบบป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย การให้ความรู้และการอบรม และการจัดการข้อมูลและเอกสาร…
นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) รับรางวัลชนะเลิศ ถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระดับอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับอุดมศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยมี ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ เป็นที่ปรึกษางานวิจัยทั้ง 2 ผลงานในการประกวดนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยี ครั้งที่ 9
ห้องปฏิบัติการภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่นในการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ ตามเกณฑ์ ESPReL Checklist โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคกลาง ในการประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานการวิจัยเครือข่ายวิจัยภูมิภาค : ภาคกลาง ปี 2561 เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2561 ณ ห้องประชุมจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ชั้น 2 อาคาร วช. 1 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีมหาวิทยาลัยเครือข่ายของภูมิภาค : ภาคกลาง เข้าร่วมงาน 35 มหาวิทยาลัย โดยมีห้องปฏิบัติการ จำนวนกว่า 50 ห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมนำเสนอผลงาน
หุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เด็กออทิสติก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และรางวัลขวัญใจมหาชน จากการประกวดในงาน i-MEDBOT Innovation Contest 2018 ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาประยุกต์ใช้ในด้านการแพทย์ จัดโดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
ผลงาน “Never Ever Falls” ระบบเฝ้าระวังและป้องกันการตกเตียงสำหรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ และสามารถขยายไปสู่กลุ่มเด็กเล็กได้ ผ่านเข้ารอบ 7 ทีมสุดท้ายของการประกวด Thailand Life Sciences Contest 2018 จัดโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ประกาศรางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาดีเด่นและเจ้าหน้าที่สนับสนุนดีเด่นด้านการพัฒนานักศึกษาผู้มีคุณสมบัติ ควรแก่การยกย่องเชิดชูเกียรติ ประจำปีการศึกษา 2560 ประกอบด้วย รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษาชั้นปีดีเด่น รางวัลอาจารย์ที่ปรึกษากิจกรรมนักศึกษาดีเด่น เจ้าหน้าที่สนับสนุนดีเด่นด้านการพัฒนานักศึกษา และรางวัลอันทรงคุณค่าด้านการบริการและพัฒนานักศึกษา จำนวน 11 ท่าน
นายปิยวัฒน์ เชิดเพชรรัตน์ (นายนะ) นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ คว้าแชมป์คนแรกรายการค้นหาสุดยอดแร็ปเปอร์ Show Me The Money Thailand คว้าเงินรางวัล 1 ล้านบาท พร้อมการโชว์ที่เวที Show Me The Money Season 7 ณ ประเทศเกาหลีใต้
ทีม ANDAMAN เป็นทีมจากนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ ภาควิชาระบบควบคุมและเครื่องมือวัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง การแข่งขัน International Autonomous Robot Racing Competition (IARRC 2018) หรือการแข่งขันหุ่นยนต์รถแข่งอัตโนมัติระดับนานาชาติ ประจำปี 2561 โดยการแข่งขันจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู ประเทศแคนาดา ทีม ANDAMAN ประกอบไปด้วย นายณัฐวัฒน์ เลิศปนิธาน (มาร์ค) หัวหน้าทีม นายพัชรพงศ์ ทองฉิม (ดิว) นายชรัณวัส จงประเสริฐ (นน) นายนิธิ อนุตรเวคิน (เจ) นายภควัต จุลละมณฑล (ซีโน่) นางสาวกานต์รวี มโนชมภู (ก้าว) นางสาวธฤษิดา ธีรธรดำรงเดช (อิ๊บ) และนางสาวณัฐนันท์ ชาวโพงพาง (โดนัท) โดยมี รศ.ดร.เบญจมาศ พนมรัตนรักษ์…
ดร.ชอน ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา และจิตวิทยา นักวิจัยพัฒนาการด้านสมอง กระบวนการเรียนรู้ และความจำ สถาบันการเรียนรู้ มจธ. ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 30 ด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์โดย Forbes Asia
สำนักงานเลขานุการ สออ.ประเทศไทย จัดพิธีมอบรางวัลอาจารย์ดีเด่น สออ. ประเทศไทย (ASAIHL-Thailand Awards) พ.ศ. 2560