บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

ฟีโบ้ มจธ. ร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราช พัฒนาระบบการจัดการยาอย่างชาญฉลาด

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกันศึกษา แก้ไขและพัฒนา “ระบบการจัดการยาอย่างชาญฉลาด” สร้างประโยชน์ด้านความรวดเร็วในการให้บริการผู้ป่วย ลดเวลาในการรอคอย ลดความผิดพลาดและลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ จึงได้เกิดความร่วมมือ “ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบปฏิบัติการในการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการบริหารจัดการระบบยา”

นักศึกษา มจธ. คิดค้นผลงานการสกัดสารสร้างตะกอนธรรมชาติจากเมล็ดมะม่วงเพื่อกำจัดสารแขวนลอยในน้ำ

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในการอุปโภคและบริโภค แต่ในปัจจุบันเราไม่สามารถนำน้ำมาใช้ได้โดยตรง เนื่องมาจากการปนเปื้อนของสารต่าง ๆ จากการปล่อยน้ำที่ใช้งานแล้วลงในแหล่งน้ำ ดังนั้นน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงคุณภาพน้ำก่อนที่จะปล่อยลงกลับคืนสู่แหล่งน้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม

มจธ. พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขยายผลึกปุ๋ยสตรูไวท์ที่ผลิตจากน้ำเสียฟาร์มสุกรเพื่อการเกษตร

ผศ.ดร.ภาติญา เขมาชีวะกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และทีมวิจัย พัฒนาเครื่องปฏิกรณ์ขยายผลึกปุ๋ยสตรูไวท์ที่ผลิตจากน้ำเสียฟาร์มสุกรเพื่อการเกษตร

สกว. – มจธ.โชว์ฐานข้อมูลทางวิศวกรรม มุ่งบูรณะโบราณสถานใกล้เคียงของเดิม

สกว.จับมือ มจธ. จัดกิจกรรมสื่อสัญจรโชว์การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน เพื่อใช้ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานให้ใกล้เคียงของเดิม และคำนวณได้อย่างแม่นยำ พร้อมจัดทำต้นแบบฐานข้อมูลให้ดูได้ผ่านเว็บเบราว์เซอร์ และพัฒนาเว็บไซต์ให้ผู้เกี่ยวข้องหรือคนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดกิจกรรมสื่อสัญจร “การจัดทำฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถาน” ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อรายงานความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ‘การพัฒนาฐานข้อมูลทางวิศวกรรมเพื่อการประเมินและติดตามสภาพโครงสร้างโบราณสถานของไทย’ โดยมี นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการ สกว. ร่วมแถลงถึงความร่วมมือในการสนับสนุนการวิจัย ตลอดจนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์และบูรณะโบราณสถานโดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ต่อไป รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า ฐานข้อมูลทางวิศวกรรมของโบราณสถานมีความจำเป็นอย่างยิ่งในด้านการวิเคราะห์ ประเมินและติดตามสภาพโบราณสถานเพื่อการอนุรักษ์ งานวิจัยนี้จึงมีเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวอย่างฐานข้อมูลดิจิทัลทางด้านวิศวกรรมของโบราณสถานของไทย ซึ่งจะครอบคลุมถึงข้อมูลทางพิกัดและมิติต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์โครงสร้าง ข้อมูลคุณสมบัติทางกลและความทนทานของวัสดุ รวมถึงศึกษาแนวทางการประเมินและติดตามสภาพโบราณสถาน ตลอดจนเทคนิคการทดสอบแบบไม่ทำลาย โดยงานวิจัยนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้ การใช้เทคโนโลยีสแกนวัตถุ 3 มิติด้วยแสงเลเซอร์ ในการสำรวจและเก็บข้อมูลพิกัด รวมถึงมิติต่าง ๆ ของโบราณสถาน ผ่านกรณีศึกษาโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์…

มจธ.ลงนามความร่วมมือกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พัฒนากระบวนการผลิตและควบคุมยาชีววัตถุครบวงจร

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ในการพัฒนากระบวนการผลิตและควบคุมคุณภาพยาชีววัตถุอย่างครบวงจร ภายใต้โครงการวิจัย 2 โครงการ

มจธ. อบรมผู้บกพร่องทางการมองเห็น กับอาชีพผู้ประเมินทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์

อาชีพผู้ประเมินทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์ เป็นอาชีพที่ใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ซึ่งต้องผ่านการฝึกฝนและทดสอบจนเกิดความชำนาญ การอบรมและฝึกฝนนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บกพร่องทางการมองเห็น

มจธ. โชว์หุ่นยนต์ BLISS เพื่อนช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เด็กออทิสติก ในงาน NCPD#10    

หุ่นยนต์ “BLISS” บำบัดเด็กออทิสติกผ่านเกมส่งเสริมพัฒนาการที่สามารถออกแบบได้หลากหลาย หุ่นยนต์ที่มีหน้าตาน่ารัก เป็นมิตรนี้ จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับผู้ปกครองหรือผู้เชี่ยวชาญ

นักวิจัย มจธ. ประสบความสำเร็จในการสร้างแผ่นเซลล์กระดูกอ่อน แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมในอนาคต

งานวิจัยนี้ได้นำเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าของผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องตัดเข่าทิ้งมาแยกเอาเซลล์กระดูกอ่อน แล้วนำเซลล์เหล่านี้ไปเพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการให้มากพอ จากนั้นจึงนำไปสร้างเป็นแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคโนโลยีแผ่นเซลล์

เปิดแล้ว EATLAB ร้านอาหารแห่งอนาคต ที่มีฐานข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภคมากที่สุดในไทย

เปิดตัวอย่างเป็นทางการ “EATLAB” บริษัท Deep Tech Startup ที่ spin-off จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับการเปิดร้านอาหารอย่างเป็นทางการ แห่งแรกที่บันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้บริโภคในยุค 4.0

นักศึกษา มจธ. ผุดไอเดีย ระบบเฝ้าระวังอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ          

ทุกปีมีประชากรมากถึง 1,600 คน เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุลื่นล้ม ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี และการเสียชีวิตจากการลื่นล้มมีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปัญหานี้ทำให้ ทีม ดิ การ์เดียน พัฒนาผลงานนวัตกรรม “ระบบเฝ้าระวังอัจฉริยะสาหรับผู้สูงอายุและคนพิการโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการและผู้สูงอายุ” เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสังคมผู้อายุ

หัวลากไฟฟ้าสำหรับวีลแชร์ช่วยขึ้นทางลาดชัน ผลงานนักศึกษา มจธ.

ความสำคัญของ “ความเท่าเทียมของคนทั้งมวล” ทำให้นางสาวขวัญชนก ตั้งศรีวงศ์ และนายธนชัย เจริญวัฒนกิจ เกิดแนวคิดในการช่วยคนพิการและผู้สูงอายุที่ใช้วีลแชร์เดินทางสะดวกขึ้น พร้อมกับได้ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดในเวลาเดียวกัน

เด็กวิทย์ฯ มจธ.เจ๋งวิจัยพบสารทดแทนยาปฏิชีวนะ ยับยั้งจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งคนและสัตว์

นายพัชรวจี ดวงแก้ว และนางสาวณีรนุช รักยิ่ง สองนักศึกษา และดร.นุจริน จงรุจา อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา ทีมวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ ค้นพบสารยับยั้งจุลินทรีย์กับเชื้อแบคทีเรียและเชื้อก่อโรคบนผิวหนัง ทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

ชุดตรวจขนาดเล็กคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ทุรกันดาร

แนวทางหนี่งที่ช่วยชะลอการแพร่ระบาดของไวรัสเอชไอวี (HIV) คือการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยเชื้อเอชไอวี รวมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เนื่องจากโรคเหล่านี้มักไม่มีอาการที่จำเพาะเจาะจง และการติดเชื้อโรคทางเพศสัมพันธ์จะเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่และติดเชื้อเอชไอวีสูงขึ้น 3 – 11 เท่า ดังนั้นการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้องแม่นยำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ผลงานระบบรังผึ้งอัจฉริยะ มจธ. ชนะเลิศอิมเมจิ้นคัพประเทศไทย 2018 และรองชนะเลิศการแข่งขันระดับภูมิภาคแปซิฟิค

รังผึ้งอัจฉริยะ (Smart Hive) รู้ภาษาผึ้ง แจ้งเตือนความผิดปกติในรังผึ้งก่อน ทำให้สามารถแก้ไขได้ทันเวลา ก่อนเกิดความเสียหาย ทำให้การเลี้ยงผึ้ง ง่ายและสะดวกขึ้นกว่าเดิม ลดเวลาทำงาน ลดการรบกวนรังผึ้ง เมื่อเกิดปัญหาในรัง แจ้งเตือนทันที ทำให้สามารถเข้าไปแก้ไขได้รวดเร็ว ลดการขาดทุน ผลผลิตและรายได้เพิ่มให้เกษตรกร