บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ผลิตผลหลักของประเทศไทยที่ส่งออกคือผลผลิตทางการเกษตร รวมทั้งอ้อยและน้ำตาล ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตน้ำตาลได้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 2 ของโลก แต่อ้อยและน้ำตาลกลับมีมูลค่าไม่คงที่และมีแนวโน้มลดลง โจทย์ในปัจจุบัน คือการเปลี่ยนผลผลิตทางการเกษตรพวกนี้ให้กลายเป็นสารมูลค่าสูง เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 รวมทั้งสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศ ทีมนักวิจัย Photocat จึงคิดนวัตกรรมใหม่ วิจัยการใช้วัสดุนาโนที่มีสมบัติเชิงแสงสามารถนำแสงมาเปลี่ยนเป็นพลังงาน รูปแบบอื่น หรือใช้เพิ่มมูลค่าให้กับผลิตผลทางการเกษตร
แหล่งผลิตไฟฟ้าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่ไม่มีไฟฟ้าส่วนใหญ่กว่า 210 แห่งทั่วประเทศใช้เครื่องปั่นไฟที่ใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศจากควันและเขม่า เสียงดัง คราบน้ำมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ทำโครงการการศึกษารูปแบบการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศไทย เพื่อจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนากลุ่มอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในภาคใต้ ครั้งที่ 1 เพื่อศึกษารูปแบบการผลิตพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ในฐานะมหาวิทยาลัยภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมโครงการจากองค์กรต่างๆ 264 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ได้สนับสนุนการสร้างสังคมสีเขียวขึ้นภายในมหาวิทยาลัยพร้อมจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดการรับรู้ เข้าใจและส่งเสริมให้เกิดการนำไปปฎิบัติอันเป็นการปลูกจิตสำนึกด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับนักศึกษาบุคลากร นอกจากนั้นยังจัดกิจกรรมเพื่อขยายผลไปสู่เยาวชน ผู้ประกอบการ ชุมชน และประชาชนทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มจธ.ได้รับคัดเลือกให้รับรางวัลโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 “เพชรน้ำเอก” สุดยอดต้นแบบ เครือข่ายกรุงเทพฯ สีเขียว กรุงเทพมหานคร กลุ่มเครือข่ายสถาบันการศึกษา ประเภทอุดมศึกษา
ผศ.ดร.วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี 2560 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เจ้าของผลงานวิจัยด้าน “เทคโนโลยีและนวัตกรรมการตัดด้วยเลเซอร์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่” เพื่อพัฒนากระบวนการตัดวัสดุด้วยความแม่นยำสูง โดยเฉพาะการใช้ “เลเซอร์” เป็นเครื่องมือในการตัดเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการตัดด้วยเลเซอร์แบบเดิมให้สูงขึ้น
เส้นใยนุ่นเป็นเส้นใยธรรมชาติจากฝักของต้นนุ่น ปราศจากยาฆ่าแมลงและสิ่งสกปรก นุ่นมีคุณสมบัติพิเศษเฉพาะตัวที่สามารถดูดซับน้ำมัน และย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ จากจุดเด่นดังกล่าว นายชุติพนธ์ ลิ้มนิวัติกุล นางสาวจิรัฐติกาล แดงด้วง นายภูวนัตถ์ รัตนเสถียร และนายธนาคาร จันทราคีรี นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำเส้นใยนุ่นมาวิจัย และพัฒนาให้เกิดประโยชน์จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเส้นใยนุ่นได้จนเป็นผลงาน ฟองน้ำเช็ดทำความสะอาดคราบน้ำมันบนภาชนะ และเครื่องครัว (SuperClean Sponge: Oily-Utensil Cleaning Material) และแผ่นเช็ดทำความสะอาดผิว (NViro Pad: Biodegradable Cosmetic Pad) โดย นายฉัตรชัย กล่อมแก้ว นายธนธรณ์ เผือกวิสุทธิ์ นายปริวรรต บุญยะไทย และนายวุฒิสิทธิ์ กิจเกรียงไกร นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ.
สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สร้างความร่วมมือกับ บริษัท แอนคา แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตเครื่องซีเอ็นซีชั้นนำรายใหญ่ของโลก ในการพัฒนาหุ่นยนต์อุตสาหกรรม-ซีเอ็นซี เปิดโรงงานสายการผลิตในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก-อีอีซี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ประกาศรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. ครั้งที่ 5 ประจำปี 2559 เพื่อส่งเสริมให้อาจารย์นักวิจัยรุ่นใหม่รักงานวิจัย มีการพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยปีนี้มีอาจารย์ได้รับรางวัลนักวิจัยดาวรุ่ง มจธ. จำนวน 3 คน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับกรมทางหลวง ศึกษาการลดความเสี่ยงอุบัติเหตุจากการชนท้าย บนทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี –ปากท่อ บริเวณ กม.23+200 – กม.28+309 ในพื้นที่ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร
สาขาวิศวกรรมหล่อโลหะและโลหการ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับบริษัท เอ็มไฟ้ว์ เอ็นจิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จัดพิธีเปิดโครงการ MAGMA Academy รุ่นที่ 2