บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

Tele 3D Printing: จากการใช้ทรัพยากรร่วมกัน สู่การสร้างบุคลากรภาคอุตสาหกรรมและไอที

ระบบการเรียนรู้ระยะไกลสำหรับการพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ หรือ “Tele 3D Printing” (Innovative Telelearning Lab and Resource Sharing) ที่อยู่ภายใต้โครงการส่งเสริมวิทยาการหุ่นยนต์สำหรับทุกคน (Robotics for All)  โดยสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสนับสนุนโรงเรียนหรือวิทยาลัยที่ได้รับมอบเครื่องพิมพ์ชิ้นงานสามมิติ (3D Printer) ให้สามารถใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์นี้ได้อย่างเหมาะสมและเต็มประสิทธิภาพ

มจธ. พัฒนาศักยภาพคนพิการ สร้างอาชีพอิสระและรายได้ ภายใต้แบรนด์ “เฮ็ดดิ” และ “ทำ”นำร่องคนพิการ บ้านนางอย จ.สกลนคร

“เห็ดนำโชค” หนึ่งในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีความหมายถึงความเจริญเติบโตภายใต้แบรนด์ “เฮ็ดดิ”จากฝีมือการถักทอของกลุ่มคนพิการชุมชนบ้านนางอย ต.เต่างอย อ.เต่างอย จ.สกลนคร ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคนพิการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งนอกจากเห็ดแล้วยังมีไม้เท้า สายรุ้ง กระถางต้นไม้ ปลอกสวมด้ามไม้กวาด กระเป๋าและเสื้อมัดย้อมสีธรรมชาติ ล้วนมาจากฝีมือของคนพิการที่ได้รับการบ่มเพาะทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติภายใต้หลักสูตรมาเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2564 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาตรา 35 โดยคนพิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ยังจะได้รับเบี้ยเลี้ยง อาหารกลางวัน และค่าเดินทางตลอดระยะเวลาในการฝึกอบรม           อาจารย์สุเมธ ท่านเจริญ ประธานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มจธ. กล่าวว่า หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น เป็นหนึ่งในสามหลักสูตรที่จัดขึ้นอยู่ภายใต้โครงการฝึกอบรมฝึกงานคนพิการฯ รุ่นที่ 8 เพื่อเพิ่มศักยภาพคนพิการ สำหรับคนพิการที่ต้องการทำงานอาชีพอิสระ และเป็นหลักสูตรนำร่องที่จัดอบรมในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นปีแรก จากเดิมที่จัดอยู่ภายในมหาวิทยาลัย และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ จึงเป็นความท้าทายในการทำงาน แต่การดำเนินโครงการก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี           “หลักสูตรนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นการทำงานร่วมกับชุมชนผ่านเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งจากโรงพยาบาลเต่างอย และอสม.เต่างอย ช่วยพิจารณาคัดเลือกคนพิการในชุมชนเข้าร่วมอบรม และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ แต่ได้รับความร่วมมือจากนักออกแบบผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถด้านการออกแบบและหัตถกรรมในพื้นที่เข้าไปช่วยสอนคนพิการถึงในชุมชนตามหลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ออกแบบ ทำให้การทำงานผ่านไปได้ด้วยดี”           ผศ.วรนุช…

วิทยานิพนธ์ “ข้อต่อกาว” จากทฤษฎีเอกภาพ งาน ป.โท คุณภาพระดับสากล

หนึ่งในการวัดผลขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือแต่ละมหาวิทยาลัยก็คือ จำนวนชิ้นหงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งส่วนใหญ่งานที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ หรือเป็นผลงานของนักศึกษาหรือนักวิจัยตั้งแต่ระดับปริญญาเอกขึ้นไป

นักวิจัย มจธ.พัฒนา “เทคโนโลยีอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพแบบบูรณาการ” แปรสภาพชีวมวลและพืชน้ำมันเป็นผลิตภัณฑ์-สารเคมีมูลค่าสูงแบบไร้ของเสียอย่างยั่งยืน รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ Carbon Neutrality

เมื่อการใช้พลังงานกำลังเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับข้อตกลงร่วมกันของประชาคมโลกในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จึงประกาศให้ทุกประเทศจะต้องมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ล่าสุด ประเทศไทยได้แสดงจุดยืนสนับสนุนนโยบายการใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2065-2070 ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญของโลกและเป็นก้าวสำคัญด้านพลังงานของประเทศ ทำให้ภาคธุรกิจต่างเร่งปรับแผนการใช้พลังงานทั้งในภาคการผลิต อาทิ การผลิตไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินทยอยเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทนในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ในภาคการขนส่งปัจจุบันส่วนใหญ่ยังคงใช้น้ำมัน แต่แน่นอนว่าเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเข้ามาแทนที่เครื่องยนต์สันดาป ทำให้อนาคตความต้องการใช้พลังงานน้ำมันจะค่อยๆลดลง ซึ่งน้ำมันดีเซลและแก๊สโซลีน(น้ำมันเบนซิน) จะมี Biofuel คือ เชื้อเพลิงที่ได้จากชีวมวล (Biomass) เข้าไปผสมในสัดส่วนที่ภาครัฐกำหนด แต่หลังจากนี้อีก 10-20 ปี เมื่อเครื่องยนต์สันดาปภายในหมดไปและจะถูกแทนที่ด้วยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) นั่นหมายความว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องตามมา     ศ. ดร.นวดล เหล่าศิริพจน์ อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีพลังงานชีวภาพ กล่าวว่า ในอดีตกว่าสิบปีที่ผ่านมารัฐบาลมีนโยบายเพิ่มการปลูกอ้อยและปาล์ม ทำให้มีอุตสาหกรรมผลิต เชื้อเพลิงชีวภาพค่อนข้างมาก แต่เมื่อสถานการณ์พลังงานโลกจากนี้จะถูกกระตุ้นด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการมาของรถยนต์ไฟฟ้า (EV) สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ ความต้องการเอทานอลและไบโอดีเซลในตลาดพลังงานจะถูกปรับลดลง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเกษตรกรได้หากไม่มีการเตรียมความพร้อม ดังนั้น หากจะไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่ชั้นบรรยากาศ…

แขนกลรดน้ำแปลงผัก” : งานดีพี่ ป.ตรี เพื่อน้อง ป.5

นักศึกษาวิศวะ ปี 4 มจธ. สร้างอุปกรณ์รดน้ำแปลงผัก เพื่อเป็น “กิจกรรมของจริง” สำหรับการสอนภาคปฏิบัติในสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับ ป.5  ของโรงเรียนประถมชายขอบ จังหวัดราชบุรี ที่นอกจากทำให้เด็กเกิดการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับชีวิตที่เป็นวิถีชีวิตของเขาแล้ว  ยังเป็นงานสร้างวิศวกรที่มองถึงการแก้ปัญหาให้ผู้ใช้งานมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงวิศวกรรมอีกด้วย

ศูนย์วิจัย มจธ. ชี้ฐานข้อมูลและกฎหมายควบคุมการค้าขายสัตว์ป่าที่เข้มแข็ง ลดการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน

จากอดีตจนถึงปัจจุบันพบว่าโรคระบาดร้ายแรงหลายๆครั้งที่เกิดขึ้นในโลกนั้น มักจะมีพาหะนำโรคซึ่งโดยมากเป็นสัตว์ป่า และอัตราการเกิดโรคระบาดจากสัตว์มาสู่มนุษย์ที่เพิ่มมากขึ้นนั้น มีการวิจัยที่ชี้ว่าเกิดจากการที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่อาศัยเพื่อตั้งถิ่นฐานหรือการทำเกษตรกรรม-อุตสาหกรรม ทำให้มีโอกาสเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์ป่ามากยิ่งขึ้น

อาจารย์ มจธ. วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ทางเลือกในอนาคตสำหรับผู้ป่วยที่ต้องปลูกถ่ายกระดูก

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเข้ามามีบทบาทและเป็นทางเลือกให้กับการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับการใช้งานในหลายๆ รูปแบบ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วนใช้งานทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งการผลิตชิ้นงานด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินั้น ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานที่ผลิตได้อย่างมากอีกด้วย           ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ใน ประเทศซีกโลกตะวันตกที่ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งโดยมากมักใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่ต้องการชิ้นส่วนที่มีรูปร่างซับซ้อนและต้องการความแม่นยำในการผลิตสูง จึงเล็งเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ปลูกถ่ายที่ใช้ทางการแพทย์เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ป่วยในประเทศไทยได้ ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านกลศาสตร์ของวัสดุ ที่เป็นแขนงวิชาหนึ่งในด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องปลูกถ่ายกระดูก เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถพัฒนาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผลิตแผ่นกระดูกเทียมจะมีโครงสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถออกแบบและผลิตได้โดยง่ายเพราะมีรูปแบบเฉพาะ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาปรับใช้จะทำให้การผลิตอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะได้อุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้และมีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาวิจัยต้องอาศัยการทำงานร่วมกับอาจารย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการศึกษา อุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้น ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อยหลายโครงการซึ่งดำเนินการคู่ขนานกันไป ซึ่งหนึ่งในโครงการนั้น ได้แก่ โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างภายในจากการคำนวณขั้นสูง ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างความพรุนและรูปแบบการโค้งของโลหะที่เหมาะสมกับโครงสร้างของกระดูกตัวอย่างที่ผ่านการทำ CT Scan…

นวัตกรรมอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบเกลียวเพื่อการประหยัดพลังงาน

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้เกิดจากนโยบายการอนุรักษ์พลังงานของกระทรวงพลังงานเพื่อตอบสนองมาตรการการประหยัดพลังงานของภาคอุตสาหกรรมและอื่นๆ เนื่องจากความร้อนทิ้ง (Waste heat) ของอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีปริมาณสูงและยังไม่มีการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากภาครัฐและเอกชนไม่ทราบข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีการนำความร้อนทิ้งกลับมาใช้ใหม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ จึงก่อให้เกิดจุดเริ่มต้นการศึกษา วิจัย ที่นำไปสู่นวัตกรรมอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จนกระทั่งเป็น “อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนแบบท่อติดครีบเกลียวเพิ่มสมรรถนะการถ่ายเทความร้อนแบบบานเกล็ดผสม”

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

“ชุดระบบหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หันมาสนใจเรื่องทางการแพทย์ ทำให้เปลี่ยนความคิดจากเดิมที่ไม่คิดว่านักเทคโนโลยีจะช่วยทางการแพทย์ได้ แต่หลังจากที่เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนาหุ่นยนต์มดบริรักษ์ มองว่านักเทคโนโลยีก็สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ไปช่วยแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังคมได้” นายวุฒิชัย วิศาลคุณา รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กล่าว นายวุฒิชัย กล่าวว่า ตนเองและทีมวิจัยพัฒนาฝ่ายอุตสาหกรรม ร่วมกับนักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มีเป้าหมายที่วางไว้ในระยะยาวในการพัฒนางานวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยทางการแพทย์ โดยมีโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง คือการพัฒนาข้อเข่าเทียมเพื่อช่วยคนพิการขาขาด 1 ข้าง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ฟีโบ้ศึกษาและพัฒนามาระยะหนึ่ง จึงนำมาพัฒนาต่อยอดให้ได้ข้อเข่าเทียมที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้เป็นธรรมชาติสำหรับคนพิการให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีจากฝีมือคนไทย มีราคาเหมาะสมและราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ คนพิการสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงได้ โครงการข้อเข่าเทียมที่ปรับตัวแปรการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นโครงการที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการเดิม ที่ข้อเข่าเทียมเดิมนั้นยังเป็นลักษณะกึ่งอัตโนมัติ คือ การปรับความหน่วงการเดินยังคงใช้ปุ่มปรับ ทำให้การเดินต้องอาศัยทักษะของผู้ใช้ค่อนข้างมาก ในโครงการต่อยอดนี้จึงต้องการปรับปรุงและพัฒนาข้อเข่าเทียมโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ในการประมวลค่าความหน่วงของข้อเข่าเทียม รวมถึงออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้จริงได้ต่อไป นายวุฒิชัย กล่าวว่า โครงการนี้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบข้อเข่าเทียม โดยมีโจทย์ว่า ต้องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไม่เทอะทะ มีกลไกการปรับความหน่วงแบบสำเร็จรูปมาใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า เพื่อให้การปรับความหน่วงของข้อเข่าเทียมรวดเร็วขึ้น และนำมาทดสอบในโปรแกรมจำลองวิธีการทำงาน หรือ…

หุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอัญมณี แก้ปัญหาขาดแคลนช่างฝีมือ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ พบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ช่างฝีมือที่ชำนาญการเจียระไนพลอย และช่างมีอายุมาก มีปัญหาสุขภาพ สายตาไม่ดี ขณะที่แรงงานรุ่นใหม่ไม่นิยมทำงานในวงการนี้ ทำให้การผลิตพลอยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เสียโอกาสในการขาย ทำให้ผู้ประกอบการต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว และเพื่อเป็นการยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและเพิ่มปริมาณพลอยที่กำลังผลิตขาดหายไป เนื่องจากอยู่ในสภาพขาดแคลนแรงงาน ทำให้มีจำนวนพลอยเข้าสู่ช่องว่างในตลาดได้มากขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 จากชุดโครงการ “การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม” ปีงบประมาณ 2562 สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพร โรจนนันต์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพร โรจนนันต์ กล่าวว่า หุ่นยนต์เจียระไนพลอยที่พัฒนาขึ้นนี้มีความโดดเด่นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเจียระไนพลอยแบบดั้งเดิม หุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 ทำงานอัตโนมัติ ถูกออกแบบกลไกของระบบการเจียระไนพลอยให้มีจานเจียระไนวางซ้อนในแนวดิ่งซ้อนเหลื่อมกันหลายจานในเพลาเดียวกัน สามารถทำงาน 3 กระบวนการที่สำคัญของการเจียระไนพลอยแบบต่อเนื่องกันจนสำเร็จ ประกอบด้วย…

ฟีโบ้ มจธ. ร่วม บ.สตาร์ทอัพ ใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ช่วยตรวจจับโรคบนภาพเอกซเรย์ปอดได้ 8 สภาวะโรค ช่วยแพทย์และลดเหลื่อมล้ำ รพ.ขนาดเล็ก เริ่มใช้ต้นปี 64

ระบบ Inspectra CXR (อินสเป็คทรา ซีเอ็กซ์อาร์) ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์นี้ เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการเทียบเท่าของรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Thailand 4.0 วางเป้าหมายสร้างเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกับสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่นในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้บริบทของประเทศไทย

“ไมโครกรีน” ผักจิ๋ว แต่คุณประโยชน์สูง…ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพ “ทานน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก”

ขึ้นชื่อว่า “ผัก”ล้วนมีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ในปัจจุบันไมโครกรีน (Microgreen) กำลังได้รับความนิยมของผู้ที่ชอบทานผักและรักสุขภาพ เพราะคุณสมบัติพิเศษของไมโครกรีนที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารพฤกษเคมีสูง ‘ผักขนาดจิ๋วกินน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก..รูปแบบใหม่ของการบริโภคผัก’

ฟีโบ้ มจธ. พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้สูงอายุ

ในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ผู้สูงอายุจำนวน 20.42 ล้านคน จากประชากร 66.5 ล้านคน ในจำนวนนั้นจะมีผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยติดเตียงประมาณ 1 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุ 12 ล้านคน

“สเปรย์สะท้อนน้ำจากแกลบ” เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรไอเดีย นักศึกษา มจธ.ชั้นปีที่ 4

ปัจจุบันหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งของจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตใหม่ “New normal” หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ 2 นักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ต้องการทำสารเคลือบหน้ากากผ้าจากของเหลือทิ้งภาคเกษตรเพื่อลดปัญหาขยะ ที่เรียกว่า “สเปรย์สะท้อนน้ำ” โดยสารนี้สามารถใช้ฉีดพ่นเคลือบบนผ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันละอองน้ำลายหรือสารคัดหลั่งจากเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งหน้ากากผ้าหลังจากฉีดพ่นสารเคลือบนี้สามารถซักและนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง