อาจารย์ มจธ. วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ทางเลือกในอนาคตสำหรับผู้ป่วยที่ต้องปลูกถ่ายกระดูก

ในปัจจุบันเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติเข้ามามีบทบาทและเป็นทางเลือกให้กับการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ สำหรับการใช้งานในหลายๆ รูปแบบ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอากาศยาน และการผลิตชิ้นส่วนใช้งานทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งการผลิตชิ้นงานด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิตินั้น ยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับชิ้นงานที่ผลิตได้อย่างมากอีกด้วย           ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ใน ประเทศซีกโลกตะวันตกที่ได้มีการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์อย่างแพร่หลายในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ซึ่งโดยมากมักใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานที่ต้องการชิ้นส่วนที่มีรูปร่างซับซ้อนและต้องการความแม่นยำในการผลิตสูง จึงเล็งเห็นว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถนำมาปรับใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์ปลูกถ่ายที่ใช้ทางการแพทย์เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาให้กับผู้ป่วยในประเทศไทยได้ ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านกลศาสตร์ของวัสดุ ที่เป็นแขนงวิชาหนึ่งในด้านวิศวกรรมศาสตร์ จึงได้เริ่มต้นศึกษาวิจัยการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาใช้ในการผลิตอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะสำหรับผู้ป่วยที่จำเป็นต้องปลูกถ่ายกระดูก เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะสามารถพัฒนาให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการผลิตแผ่นกระดูกเทียมจะมีโครงสร้างบางอย่างที่ไม่สามารถออกแบบและผลิตได้โดยง่ายเพราะมีรูปแบบเฉพาะ ดังนั้นการนำเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมาปรับใช้จะทำให้การผลิตอุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะได้อุปกรณ์ที่มีขนาดและรูปร่างเฉพาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละบุคคลได้และมีประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาวิจัยต้องอาศัยการทำงานร่วมกับอาจารย์แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ ซึ่งปัจจุบันมีความร่วมมือกับคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภายใต้โครงการศึกษา อุปกรณ์ปลูกถ่ายประเภทโลหะจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ นั้น ประกอบด้วยโครงการวิจัยย่อยหลายโครงการซึ่งดำเนินการคู่ขนานกันไป ซึ่งหนึ่งในโครงการนั้น ได้แก่ โครงการการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างภายในจากการคำนวณขั้นสูง ซึ่งเป็นโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์โครงสร้างความพรุนและรูปแบบการโค้งของโลหะที่เหมาะสมกับโครงสร้างของกระดูกตัวอย่างที่ผ่านการทำ CT Scan…

“แบบจำลองการทำนายค่าฝุ่น PM2.5” ของนักเรียน วมว. คว้ารางวัลเหรียญทองเวทีนานาชาติ สาขาสิ่งแวดล้อม

“ดีหรือไม่หากสามารถพยากรณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ในแต่ละวันในพื้นที่ต่างๆ ได้” จุดเริ่มต้นไอเดียผลงานแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม “DEEP LEARNING MODEL FOR AIR QUALITY PREDICTION” นวัตกรรมสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการสร้างแบบจำลองการทำนายค่าฝุ่น PM2.5 เพื่อประเมินสภาวะอากาศในแต่ละพื้นที่ พัฒนาโดย นายธีรวัฒน์ เชื้อพันธ์งาม นายวสุพล เฮงศรีธวัช และนายกฤติน ถิระศักดิ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วมว.) โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.เอกพงษ์ หิรัญสิริสวัสดิ์ สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ และดร.ธีรสิทธิ์ เติมสายทอง สถาบันการเรียนรู้ มจธ. 1 ใน 6 ผลงานตัวแทนประเทศไทยนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 28 ที่ได้รับการคัดเลือกจากผลงานที่ส่งเข้าร่วมจำนวนกว่า 25 โครงงาน จากโรงเรียนบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ โดยแบ่งตามกลุ่มสาขา เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาสิ่งแวดล้อม…