บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

ฟีโบ้ มจธ. จับมือ TOT ร่วมเป็น“ Strategic partner” สนับสนุนวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในพื้นที่เขตพิเศษและนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับเป็น Industry 4.0

เมื่อวันพุธที่ 16 กันยายน 2563 ที่ห้องประชุม 607 ชั้น 6 อาคารสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการสนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มจธ. ประดิษฐ์ “ระบบควบคุมการตีระฆังอัตโนมัติ” ร่วมฟื้นธรรมเนียมการตีระฆังฝรั่งสามใบเถา วัดราชประดิษฐฯ

“ระฆังฝรั่ง” วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 กลับมาดังก้องกังวานส่งสัญญาณกิจสงฆ์อีกครั้ง หลังจากที่คณะอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ประดิษฐ์ชุดควบคุมการตีระฆังอัตโนมัติ เพื่อควบคุมการตีและกำหนดจังหวะการตีระฆังของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามแล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2563

ผลงานท่อเพิ่มความร้อนฯ มจธ. คว้ารางวัลรองอันดับ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน จาก TE-IT 2019

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จาก Thailand Energy of Innovation and Technology Awards 2019 (TE-IT2019) ในผลงาน “ท่อเพิ่มความร้อนสำหรับเพิ่มสมรรถนะทางอุณหภาพ”

ฟีโบ้ ร่วมกับภาคเอกชน พัฒนา ‘MuM II’ หุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และบริษัท เลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จํากัด ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ Multi-functional Mobility: MuM II ถูกออกแบบและพัฒนาให้รองรับการทํางานหลากหลายหน้าที่ เพื่อเพิ่มประโยชน์ ด้วยหุ่นยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนโมดูลด้านบนได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่ โมดูลฆ่าเชื้อด้วย UV-C การส่งอาหาร และจ่ายยาอัตโนมัติ

มจธ. จับมือ SEAC ร่วมโชว์พันธกิจยกระดับการศึกษา

“สร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” เดินหน้าเพื่อยกระดับและสร้าง “กำลังคนคุณภาพ” สู่ตลาดแรงงานไทยและภูมิภาคอาเซียน ผสานทักษะ Hard Skills และ Hyper-Relevant Skills

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งได้รับเชื้อจากผู้ป่วยระหว่างทำการตรวจและรักษา เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างเช่น หน้ากากอนามัยแบบ N95 มีความขาดแคลน ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคอื่น ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 หรือ COVID-19 Test Station ที่เกิดจากการออกแบบของอาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ และ Dr. Martin Schoch อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

อาจารย์ มจธ. ผลิตอุปกรณ์และปรับปรุงกระบวนการ เพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยช่วยโรงงาน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 30%

บริษัทผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยมีเพียง 11 บริษัท และมีเพียง 2-3 บริษัทเท่านั้นที่เป็นบริษัทรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูง โดย รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ และอาจารย์นพณรงค์ ศิริเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คุณไพศาล ตั้งชัยสิน นักศึกษาเก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และ นายทศพร บุญแท้ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ได้ทำงานร่วมกับบริษัท ไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด หวังช่วยให้โรงงานขนาดใหญ่มีกำลังผลิตเพิ่มมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่มาก ร่วมกับใช้เครื่องเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual ที่ให้การผลิตต่ำกว่าเครื่องผลิตหน้ากากอนามัยแบบอัตโนมัติ

วิศวกรรมเครื่องกล มจธ. ผลิตบอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยพร้อมชุดบำบัดอากาศลดการแพร่กระจายเชื้อโรคมอบโรงพยาบาลราชวิถี

บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อทางเดินหายใจหรือบุคคลที่คาดว่ามีการติดเชื้อ อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถนำไปใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย รวมถึงสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ทั้งระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่พักและระหว่างรอรับการรักษา           ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ รศ. ดร.วันชัย อัศวภูษิตกุล นายธวัชชัย เขียวคำรพ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ ผศ. สิทธิชัย วงศ์ธนสุภรณ์ จากบริษัท เอ ซี เทค จำกัด ได้ร่วมกันออกแบบและผลิต ”บอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีชุดบำบัดอากาศสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ” เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่อากาศ ชุดอุปกรณ์สามารถถอดประกอบได้ง่าย ใช้ได้ทั้งในรถพยาบาล รถฉุกเฉิน และเตียงโรงพยาบาล สะดวกในการเคลื่อนย้ายและทำความสะอาด           ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ กล่าวว่าอุปกรณ์ประกอบด้วยสามส่วนหลักๆ คือส่วนที่จะรองรับลมหายใจและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยไม่ให้แพร่กระจายออกสู่ภายนอก ส่วนที่จะนำพาอากาศที่ติดเชื้อนี้เข้าสู่ชุดบำบัดอากาศและส่วนของการบำบัดอากาศ หลักการทำงาน คือ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษา เราก็จะให้ผู้ป่วยขึ้นไปนอนบนบอร์ดนี้ หลังจากนั้นก็ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำการครอบส่วนบนของผู้ป่วยด้วยถุงพลาสติก ต่อท่อลมระหว่างส่วนหัวของบอร์ดเข้ากับเครื่องบำบัดอากาศ และจึงเปิดระบบการบำบัดอากาศ อากาศที่ออกจากลมหายใจของผู้ป่วยซึ่งอาจมีสารคัดหลั่งอยู่ด้วยจะถูกดูดเข้าเครื่องบำบัด เพื่อกักและทำลายเชื้อโรคไม่ปล่อยสู่อากาศภายนอก ทำให้อากาศที่ออกมาปลอดจากเชื้อโรค ภายในถุงที่ครอบส่วนบนอยู่ จะมีความดันลบ…

นักวิจัยไทยประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ความดันลบแบบเคลื่อนย้ายได้ส่งมอบกับรพ.พระมงกุฎเกล้า เคลื่อนย้ายง่าย มีประสิทธิภาพสูง

ทีมนักวิจัยไทยประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ความดันลบ หรือ Negative Pressure Unit ซึ่งเป็นเครื่องแบบเคลื่อนย้ายได้สามารถติดตั้งได้กับทุกเตียงในโรงพยาบาลและรถพยาบาล ลดการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในอากาศ ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ขณะทำหัตถการ ทางกลุ่มได้ส่งมอบแล้วให้กับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 2 เครื่อง ผลงานประดิษฐ์ฝีมือของนักวิจัยไทยที่รวมกลุ่มกันของกลุ่มจิตอาสาเพื่อการจัดการภัยพิบัติ (ERIG) บริษัท เนสเทค ประเทศไทย จำกัด (NESTECH) และมดอาสา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

มจธ. เร่งพัฒนาระบบฆ่าเชื้อชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ โดยมีแผนติดตั้งที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เป็นแห่งแรก

ทีมอาจารย์และนักวิจัย มจธ. ได้ทำการออกแบบและทดสอบห้องฆ่าเชื้อที่ใช้ระบบพ่นไอระเหยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (HPV) ตามมาตรฐานที่รับรองโดย US.FDA พร้อมจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติการมาตรฐาน เพื่อช่วยลดปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ ในช่วงระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 

ทีมนศ.ไทยหนึ่งเดียวในเอเชีย เข้าร่วมการแข่งขันบ้านประหยัดพลังงาน Solar Decathlon Europe 2019

ทีมนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เป็นทีมหนึ่งเดียวในเอเชียที่ผ่านเข้ารอบเข้าร่วมการแข่งขันบ้านประหยัดพลังงานระดับโลก Solar Decathlon Europe 2019 ณ ประเทศฮังการี ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้มีทีมจาก 19 มหาวิทยาลัยทั่วโลกจากหลายประเทศ ประกอบด้วย ประเทศอังกฤษ โรมาเนีย ฮังการี สเปน เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เบลเยียม กรีซ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และอิตาลี เข้าร่วมการแข่งขัน

‘Whizdom Society’ by MQDC ตั้ง “Whizdom Scholarship” ให้ทุนด้านที่อยู่อาศัยและทุนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ

Whizdom Society by MQDC ทุ่มงบฯกว่า 30 ล้านบาท จัดโครงการ Whizdom Scholarship ผลักดันและสนับสนุนเยาวชนไทยเป็นสังคมของคนดีและคนเก่ง พัฒนาทั้งด้านจิตใจและศักยภาพเพื่อก้าวสู่เวทีโลก ด้วยการให้ทุนด้านที่อยู่อาศัยและทุนพัฒนาทักษะตนเอง ทยอยจับมือระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ เริ่มต้น 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของเมืองไทย

สมาร์ทแล็บ มจธ. คิดค้นนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกเป็นอันดับที่ 4 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสู่อันดับที่ 3 ในปี 2020 มักจะเกิดกับผู้สูบบุหรี่จัด โดยส่วนใหญ่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะพบในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่มมีวิธีการรักษาให้หายเป็นปกติ เพียงแต่บรรเทาอาการของโรคได้เท่านั้น เช่น การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม การผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรของปอด เป็นต้น ซึ่งการบรรเทาอาการด้วยยาพ่นขยายหลอดลมนั้นช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่หากใช้งานต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการสั่นได้  ส่วนการผ่าตัดลดปริมาตรของปอดนั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น แต่วิธีดังกล่าวเป็นวิธีทำให้เกิดแผลที่ใหญ่และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ตามมา ทีมนักวิจัยสมาร์ทแล็บ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนุบรี (มจธ.) ประกอบด้วย นายศุภกิจ อมรฐิติพงศ์ นายถกล กิจรัตนเจริญ นายชวิน เกยานนท์ และนางสาวปภัสณา วงษ์แพทย์  โดยมี รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้คิดค้นนวัตกรรม การใช้อุปกรณ์วาล์วทางเดียวจากโลหะผสมจำรูปเพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง เป็นการออกแบบและผลิตอุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพองชนิดขดลวดคํ้ายันประกบวาล์วทางเดียวจากวัสดุฉลาดประเภทโลหะผสมจำรูป นิกเกิล-ไทเทเนียม เพื่อช่วยในการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง โดยผลงานนี้เป็นความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายศุภกิจ อมรฐิติพงศ์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า อุปกรณ์ที่ใช้ทำจากวัสดุฉลาด มีความยืดหยุ่น สามารถคืนรูปได้ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่สามารถลดปริมาตรอากาศในปอดได้…

มจธ. คิดค้นนวัตกรรมแผ่นปิดแผลบียอนด์ก๊อซ ดูดซับได้มากกว่าถึง 50 เท่าและต้านเชื้อแบคทีเรีย

ผ้าก๊อซปิดแผล เป็นวัสดุปิดแผลที่นิยมใช้ทั่วไปเนื่องจากมีราคาถูกและหาซื้อได้ง่าย แต่ดูดซึมสารคัดหลั่งได้น้อยและไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อซึ่งอาจจะนำไปสู่การอักเสบของแผลได้ จึงทำให้บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ผลิตวัสดุปิดแผลในรูปแบบต่างๆ เช่น ไฮโดรไฟเบอร์ ไฮโดรคอลลอยด์ และแผ่นโฟม ออกมาจำหน่าย ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและมีราคาสูง ผศ.ดร.เขมฤทัย ถามะพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ นางสาวสุวนันท์ คล้ายศรี และนางสาวสุทธิดา แก้ววิเศษ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จึงได้คิดค้นและพัฒนา “บียอนด์ก๊อซ หรือ Beyond Gauze” ผ้าก๊อซราคาถูกที่มีความสามารถในการดูดซับสารคัดหลั่งได้ดี สามารถต้านเชื้อแบคทีเรีย และสามารถใช้กับแผลลักษณะต่างๆ ได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมวัสดุปิดแผลที่ทำมาจากผ้าก๊อซซึ่งเป็นฝ้ายบริสุทธิ์และมีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาด มาเปลี่ยนสภาพพื้นผิวให้มีความสามารถในการดูดซับสารคัดหลั่งได้ดี จากนั้นจึงนำมาเคลือบด้วยสารต้านเชื้อแบคทีเรียที่สังเคราะห์ขึ้นจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีการผลิตสีเขียว (green technology) โดย “Beyond Gauze” มีความสามารถในการดูดซับสารคัดหลั่ง เช่น เลือด หรือน้ำหนอง ได้ดีกว่าผ้าก๊อซที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดถึง 50 เท่า และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้กว่า 3 ล้านเซลล์ มีราคาถูกกว่าวัสดุปิดแผลที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศถึง 20 เท่า โดยสามารถนำ “Beyond Gauze” ไปใช้กับบาดแผลได้ทุกลักษณะ เช่น…