บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

ฟีโบ้ มจธ. ร่วม บ.สตาร์ทอัพ ใช้ AI ปัญญาประดิษฐ์ช่วยตรวจจับโรคบนภาพเอกซเรย์ปอดได้ 8 สภาวะโรค ช่วยแพทย์และลดเหลื่อมล้ำ รพ.ขนาดเล็ก เริ่มใช้ต้นปี 64

ระบบ Inspectra CXR (อินสเป็คทรา ซีเอ็กซ์อาร์) ถูกสร้างขึ้นเพื่อตอบโจทย์นี้ เป็นระบบปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยเหลือแพทย์ตรวจจับความผิดปกติจากภาพถ่ายรังสีทรวงอก เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการเทียบเท่าของรังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ ทุกเวลา แม้จะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

KOSEN KMUTT ผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม Thailand 4.0 วางเป้าหมายสร้างเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมกับสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่นในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้บริบทของประเทศไทย

“ไมโครกรีน” ผักจิ๋ว แต่คุณประโยชน์สูง…ทางเลือกใหม่ของผู้รักสุขภาพ “ทานน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก”

ขึ้นชื่อว่า “ผัก”ล้วนมีสารอาหารที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อร่างกาย ในปัจจุบันไมโครกรีน (Microgreen) กำลังได้รับความนิยมของผู้ที่ชอบทานผักและรักสุขภาพ เพราะคุณสมบัติพิเศษของไมโครกรีนที่อุดมไปด้วยสารอาหารและสารพฤกษเคมีสูง ‘ผักขนาดจิ๋วกินน้อยแต่ได้ประโยชน์มาก..รูปแบบใหม่ของการบริโภคผัก’

ฟีโบ้ มจธ. พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนเพื่อป้องกันแผลกดทับในผู้สูงอายุ

ในปี 2568 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) ผู้สูงอายุจำนวน 20.42 ล้านคน จากประชากร 66.5 ล้านคน ในจำนวนนั้นจะมีผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันคาดว่ามีผู้สูงอายุเป็นผู้ป่วยติดเตียงประมาณ 1 ล้านคน จากจำนวนผู้สูงอายุ 12 ล้านคน

“สเปรย์สะท้อนน้ำจากแกลบ” เพิ่มมูลค่าของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรไอเดีย นักศึกษา มจธ.ชั้นปีที่ 4

ปัจจุบันหน้ากากอนามัยกลายเป็นสิ่งของจำเป็นสำหรับวิถีชีวิตใหม่ “New normal” หลังเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จึงเป็นจุดเริ่มต้นไอเดียของ 2 นักศึกษาสาวชั้นปีที่ 4 จากภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ที่ต้องการทำสารเคลือบหน้ากากผ้าจากของเหลือทิ้งภาคเกษตรเพื่อลดปัญหาขยะ ที่เรียกว่า “สเปรย์สะท้อนน้ำ” โดยสารนี้สามารถใช้ฉีดพ่นเคลือบบนผ้าทุกชนิดเพื่อป้องกันละอองน้ำลายหรือสารคัดหลั่งจากเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งหน้ากากผ้าหลังจากฉีดพ่นสารเคลือบนี้สามารถซักและนำมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง

ฟีโบ้ มจธ. จับมือ TOT ร่วมเป็น“ Strategic partner” สนับสนุนวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในพื้นที่เขตพิเศษและนิคมอุตสาหกรรม ยกระดับเป็น Industry 4.0

เมื่อวันพุธที่ 16 กันยายน 2563 ที่ห้องประชุม 607 ชั้น 6 อาคารสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการสนับสนุนและวิจัยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ภาคสนามในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ระหว่าง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

มจธ. ประดิษฐ์ “ระบบควบคุมการตีระฆังอัตโนมัติ” ร่วมฟื้นธรรมเนียมการตีระฆังฝรั่งสามใบเถา วัดราชประดิษฐฯ

“ระฆังฝรั่ง” วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม พระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 4 กลับมาดังก้องกังวานส่งสัญญาณกิจสงฆ์อีกครั้ง หลังจากที่คณะอาจารย์จากภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ประดิษฐ์ชุดควบคุมการตีระฆังอัตโนมัติ เพื่อควบคุมการตีและกำหนดจังหวะการตีระฆังของวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามแล้วเสร็จเมื่อต้นปี พ.ศ.2563

ผลงานท่อเพิ่มความร้อนฯ มจธ. คว้ารางวัลรองอันดับ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอนุรักษ์พลังงาน จาก TE-IT 2019

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จาก Thailand Energy of Innovation and Technology Awards 2019 (TE-IT2019) ในผลงาน “ท่อเพิ่มความร้อนสำหรับเพิ่มสมรรถนะทางอุณหภาพ”

ฟีโบ้ ร่วมกับภาคเอกชน พัฒนา ‘MuM II’ หุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ สนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์

สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และบริษัท เลิศวิลัยแอนด์ซันส์ จํากัด ร่วมกันพัฒนาหุ่นยนต์อัตโนมัติอเนกประสงค์ Multi-functional Mobility: MuM II ถูกออกแบบและพัฒนาให้รองรับการทํางานหลากหลายหน้าที่ เพื่อเพิ่มประโยชน์ ด้วยหุ่นยนต์ที่สามารถปรับเปลี่ยนโมดูลด้านบนได้ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ได้แก่ โมดูลฆ่าเชื้อด้วย UV-C การส่งอาหาร และจ่ายยาอัตโนมัติ

มจธ. จับมือ SEAC ร่วมโชว์พันธกิจยกระดับการศึกษา

“สร้างความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)” เดินหน้าเพื่อยกระดับและสร้าง “กำลังคนคุณภาพ” สู่ตลาดแรงงานไทยและภูมิภาคอาเซียน ผสานทักษะ Hard Skills และ Hyper-Relevant Skills

วิศวฯอุตสาหการ มจธ. แนะทองแดงมีสมบัติทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติ

อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) แนะทองแดงสามารถทำลายเชื้อโรคได้โดยธรรมชาติหวังช่วยลดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-ไนน์ทีน (Covid-19) หากนำมาประยุกต์ติดกับปุ่มลิฟต์โดยสาร เตรียมนำร่องที่ลิฟต์โดยสารภายในมจธ. และพร้อมให้คำแนะนำสำหรับหน่วยงานและผู้สนใจ

อาจารย์สถาปัตย์ มจธ. พร้อมส่งต่อดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 แยกพื้นที่การรอตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง

สืบเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีบุคลากรทางการแพทย์จำนวนหนึ่งได้รับเชื้อจากผู้ป่วยระหว่างทำการตรวจและรักษา เนื่องจากอุปกรณ์ป้องกันตัวเองอย่างเช่น หน้ากากอนามัยแบบ N95 มีความขาดแคลน ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงการติดเชื้อให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ที่มาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลด้วยโรคอื่น ๆ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของงานดีไซน์แบบสถานีคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 หรือ COVID-19 Test Station ที่เกิดจากการออกแบบของอาจารย์สุนารี ลาวัลยะวัฒน์ และ Dr. Martin Schoch อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)

อาจารย์ มจธ. ผลิตอุปกรณ์และปรับปรุงกระบวนการ เพิ่มกำลังผลิตหน้ากากอนามัยช่วยโรงงาน ตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิต 30%

บริษัทผลิตหน้ากากอนามัยในประเทศไทยมีเพียง 11 บริษัท และมีเพียง 2-3 บริษัทเท่านั้นที่เป็นบริษัทรายใหญ่ที่มีกำลังผลิตสูง โดย รศ.ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ และอาจารย์นพณรงค์ ศิริเสถียร อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) คุณไพศาล ตั้งชัยสิน นักศึกษาเก่าภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และ นายทศพร บุญแท้ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม ได้ทำงานร่วมกับบริษัท ไทยฮอสพิทอล โปรดักส์ จำกัด หวังช่วยให้โรงงานขนาดใหญ่มีกำลังผลิตเพิ่มมากขึ้นในเวลาที่รวดเร็ว ใช้เงินลงทุนไม่มาก ร่วมกับใช้เครื่องเชื่อมอัลตราโซนิกแบบ Manual ที่ให้การผลิตต่ำกว่าเครื่องผลิตหน้ากากอนามัยแบบอัตโนมัติ

วิศวกรรมเครื่องกล มจธ. ผลิตบอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยพร้อมชุดบำบัดอากาศลดการแพร่กระจายเชื้อโรคมอบโรงพยาบาลราชวิถี

บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโรคติดต่อทางเดินหายใจหรือบุคคลที่คาดว่ามีการติดเชื้อ อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสามารถนำไปใช้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย รวมถึงสามารถควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ ทั้งระหว่างการเคลื่อนย้ายจากที่พักและระหว่างรอรับการรักษา           ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ รศ. ดร.วันชัย อัศวภูษิตกุล นายธวัชชัย เขียวคำรพ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ ผศ. สิทธิชัย วงศ์ธนสุภรณ์ จากบริษัท เอ ซี เทค จำกัด ได้ร่วมกันออกแบบและผลิต ”บอร์ดเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่มีชุดบำบัดอากาศสำหรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ” เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคสู่อากาศ ชุดอุปกรณ์สามารถถอดประกอบได้ง่าย ใช้ได้ทั้งในรถพยาบาล รถฉุกเฉิน และเตียงโรงพยาบาล สะดวกในการเคลื่อนย้ายและทำความสะอาด           ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ กล่าวว่าอุปกรณ์ประกอบด้วยสามส่วนหลักๆ คือส่วนที่จะรองรับลมหายใจและสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยไม่ให้แพร่กระจายออกสู่ภายนอก ส่วนที่จะนำพาอากาศที่ติดเชื้อนี้เข้าสู่ชุดบำบัดอากาศและส่วนของการบำบัดอากาศ หลักการทำงาน คือ เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปรับการรักษา เราก็จะให้ผู้ป่วยขึ้นไปนอนบนบอร์ดนี้ หลังจากนั้นก็ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำการครอบส่วนบนของผู้ป่วยด้วยถุงพลาสติก ต่อท่อลมระหว่างส่วนหัวของบอร์ดเข้ากับเครื่องบำบัดอากาศ และจึงเปิดระบบการบำบัดอากาศ อากาศที่ออกจากลมหายใจของผู้ป่วยซึ่งอาจมีสารคัดหลั่งอยู่ด้วยจะถูกดูดเข้าเครื่องบำบัด เพื่อกักและทำลายเชื้อโรคไม่ปล่อยสู่อากาศภายนอก ทำให้อากาศที่ออกมาปลอดจากเชื้อโรค ภายในถุงที่ครอบส่วนบนอยู่ จะมีความดันลบ…

นักวิจัยไทยประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ความดันลบแบบเคลื่อนย้ายได้ส่งมอบกับรพ.พระมงกุฎเกล้า เคลื่อนย้ายง่าย มีประสิทธิภาพสูง

ทีมนักวิจัยไทยประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ความดันลบ หรือ Negative Pressure Unit ซึ่งเป็นเครื่องแบบเคลื่อนย้ายได้สามารถติดตั้งได้กับทุกเตียงในโรงพยาบาลและรถพยาบาล ลดการแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ในอากาศ ช่วยลดความเสี่ยงการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ขณะทำหัตถการ ทางกลุ่มได้ส่งมอบแล้วให้กับโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 2 เครื่อง ผลงานประดิษฐ์ฝีมือของนักวิจัยไทยที่รวมกลุ่มกันของกลุ่มจิตอาสาเพื่อการจัดการภัยพิบัติ (ERIG) บริษัท เนสเทค ประเทศไทย จำกัด (NESTECH) และมดอาสา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)