โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกเป็นอันดับที่ 4 และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสู่อันดับที่ 3 ในปี 2020 มักจะเกิดกับผู้สูบบุหรี่จัด โดยส่วนใหญ่โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังจะพบในช่วงอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป ปัจจุบันยังไม่มมีวิธีการรักษาให้หายเป็นปกติ เพียงแต่บรรเทาอาการของโรคได้เท่านั้น เช่น การใช้ยาพ่นขยายหลอดลม การผ่าตัดเพื่อลดปริมาตรของปอด เป็นต้น ซึ่งการบรรเทาอาการด้วยยาพ่นขยายหลอดลมนั้นช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น แต่หากใช้งานต่อเนื่องอาจส่งผลให้เกิดอาการสั่นได้ ส่วนการผ่าตัดลดปริมาตรของปอดนั้นสามารถทำให้ผู้ป่วยหายใจได้ดีขึ้น แต่วิธีดังกล่าวเป็นวิธีทำให้เกิดแผลที่ใหญ่และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆ ตามมา
ทีมนักวิจัยสมาร์ทแล็บ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนุบรี (มจธ.) ประกอบด้วย นายศุภกิจ อมรฐิติพงศ์ นายถกล กิจรัตนเจริญ นายชวิน เกยานนท์ และนางสาวปภัสณา วงษ์แพทย์ โดยมี รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้คิดค้นนวัตกรรม การใช้อุปกรณ์วาล์วทางเดียวจากโลหะผสมจำรูปเพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง เป็นการออกแบบและผลิตอุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพองชนิดขดลวดคํ้ายันประกบวาล์วทางเดียวจากวัสดุฉลาดประเภทโลหะผสมจำรูป นิกเกิล-ไทเทเนียม เพื่อช่วยในการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง โดยผลงานนี้เป็นความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายศุภกิจ อมรฐิติพงศ์ หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า อุปกรณ์ที่ใช้ทำจากวัสดุฉลาด มีความยืดหยุ่น สามารถคืนรูปได้ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่สามารถลดปริมาตรอากาศในปอดได้ โดยทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บน้อยที่สุด โดยนำอุปกรณ์ผ่านเข้าทางสายสวนขนาดเท่าหลอดน้ำดื่ม ผ่านทางลำคอ เมื่อสอดอุปกรณ์ไปจนถึงบริเวณตรวจพบการคั่งค้างของอากาศ ก็จะปล่อยอุปกรณ์ไว้ที่บริเวณนั้น อุปกรณ์ที่นำเข้าไปจะไม่ปล่อยอากาศเข้าไปแต่จะนำพาอากาศที่คั่งค้างอยู่ภายในปอดออกมา โดยทำงานร่วมกับคุณหมอที่ปฏิบัติงานจริง ทำการทดลองในห้องแล็บและทดลองกับอาจารย์ใหญ่ ทำให้ผลงานที่ได้มีมาตรฐานและใช้งานได้จริง
รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด กล่าวว่า การใช้อุปกรณ์วาล์วทางเดียวจากโลหะผสมจำรูปเพื่อใช้รักษาโรคถุงลมโป่งพอง (Endobronchial Valve, EBV) ที่เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก ประกอบด้วย โครงคํ้ายันนิกเกิล-ไทเทเนียมที่ห่อหุ้มด้วยซิลิโคนและวาล์วทางเดียว ทางเลือกในการรักษาวิธีใหม่ โดยไม่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศด้วยราคาแพง เป็นการช่วยลดมูลค่าการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศ จุดเด่นคืออุปกรณ์ EBV ไม่ก่อให้เกิดบาดแผลและความเจ็บปวดในการรักษา เพราะอุปกรณ์สามารถนำผ่านเข้าทางสายสวนผ่านทางลำคอได้โดยตรง ดังนั้นหากประเทศไทยสามารถผลิต EBV ได้จะช่วยให้คนไทยจำนวนมากเข้าถึงการรักษาได้ และนำเข้าสู่การขึ้นทะเบียนนวัตกรรมเพื่อต่อยอดให้เกิดการแข่งขันในเชิงพาณิชย์ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบและผลิตอุปกรณ์รักษาโรคถุงลมโป่งพอง เพื่อใช้ในการพัฒนาต่อไปในอนาคต
KMUTT SMART LAB invents ‘One-Way Valve Device Made From Shape Memory Alloy Utilizing For Emphysema Treatment’.
Chronic obstructive pulmonary disease (COPD) is the fourth leading cause of deaths in world population and is likely to rise to the third in 2020. This disease is often found among cigarette smokers and those with age of more than 40 years old. Until now, there is no cure for COPD, only some methods to relieve symptoms e.g. quick-relief drugs to help open the airways or lung volume reduction surgery. Still, the excessive use of quick-relief drugs may result in tremor. Meanwhile lung volume reduction surgery can help patients breathe better but it also causes large wounds and risks of other complications.
Smart Lab Research Team, King Mongkut’s University of Technology Thonburi (KMUTT), consists of Mr. Supakit Amornthitipong, Mr. Takon Kitrattanacharoen, Mr. Chawin Kayanon and Miss Papassana Wongpat, and their advisor Assoc. Prof. Dr. Anak Khantachawana. The team has invented a special medical innovation called “One-Way Valve Device Made From Shape Memory Alloy Utilizing For Emphysema Treatment.” This innovation is a specially designed medical product made from nickel- titanium shape memory alloy for the treatment of emphysema as a result of the collaboration with Faculty of Medicine, Chulalongkorn University.
The team leader Mr. Supakit Amornthitipong reveals that this device is made from shape memory alloy which is flexible and able to return to its pre-deformed shape. Using this method can help reduce air volume in the lungs without any surgery, causing the least pains for patients. This device is brought, through a catheter with the size of a drinking water tube, through the throat. The insertion will continue until it reaches the area of airflow obstruction, and the device will be left there. It does not bring in the air; instead, it takes out the remaining air inside the lungs. The team has worked with practicing physicians, and conducted lab experiments as well as tested the device with cadavers, resulting in a standard and practical product.
Assoc. Prof. Dr. Anak Khantachawana, associate professor of the Department of Mechanical Engineering, King’s Mongkut’s University of Technology Thonburi, Head of KMUTT Smart Lab, states that the use of this small device consisting of a nickel-titanium frame enfolded with silicone and a one-way valve—as an Endobronchial Valve (EBV)— is a new treatment option with no needs to rely on imported devices. This can help reduce expensive costs of importing medical equipment from abroad. More importantly, this EBV device does not cause wounds and pains during the treatment as it can be directly inserted through the catheter through the throat. Therefore, if Thailand can produce the EBV, it will help many more Thai people to access the treatment and can be patented as a national innovation for further commercial production. In addition, it helps generate basic knowledge in the design and manufacture of emphysema treatment equipment for future development.
===========================================
ประมวลข่าวจากสื่อมวชน (News Clipping)
===========================================
– หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) กีฬา/ไอที-วิทยาการ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 >>>>Click
– เดลินิวส์ออนไลน์ วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2562 >>>>Click
– บ้านเมืองออนไลน์ วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2562 >>>>Click
– กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ วันพุธที่ 5 มิถุนายน 2562 >>>>Click
– thailand press release news Tueseday May 28, 2019>>>>Click