บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

มจธ. พัฒนาศักยภาพคนพิการ สร้างอาชีพอิสระและรายได้ ภายใต้แบรนด์ “เฮ็ดดิ” และ “ทำ”นำร่องคนพิการ บ้านนางอย จ.สกลนคร

“เห็ดนำโชค” หนึ่งในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมที่มีความหมายถึงความเจริญเติบโตภายใต้แบรนด์ “เฮ็ดดิ”จากฝีมือการถักทอของกลุ่มคนพิการชุมชนบ้านนางอย ต.เต่างอย อ.เต่างอย จ.สกลนคร ที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพคนพิการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งนอกจากเห็ดแล้วยังมีไม้เท้า สายรุ้ง กระถางต้นไม้ ปลอกสวมด้ามไม้กวาด กระเป๋าและเสื้อมัดย้อมสีธรรมชาติ ล้วนมาจากฝีมือของคนพิการที่ได้รับการบ่มเพาะทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติภายใต้หลักสูตรมาเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ถึงธันวาคม 2564 โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการมาตรา 35 โดยคนพิการจะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ นอกจากนี้ยังจะได้รับเบี้ยเลี้ยง อาหารกลางวัน และค่าเดินทางตลอดระยะเวลาในการฝึกอบรม           อาจารย์สุเมธ ท่านเจริญ ประธานโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนพิการ มจธ. กล่าวว่า หลักสูตรการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่น เป็นหนึ่งในสามหลักสูตรที่จัดขึ้นอยู่ภายใต้โครงการฝึกอบรมฝึกงานคนพิการฯ รุ่นที่ 8 เพื่อเพิ่มศักยภาพคนพิการ สำหรับคนพิการที่ต้องการทำงานอาชีพอิสระ และเป็นหลักสูตรนำร่องที่จัดอบรมในพื้นที่ต่างจังหวัดเป็นปีแรก จากเดิมที่จัดอยู่ภายในมหาวิทยาลัย และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ จึงเป็นความท้าทายในการทำงาน แต่การดำเนินโครงการก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี           “หลักสูตรนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นการทำงานร่วมกับชุมชนผ่านเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งจากโรงพยาบาลเต่างอย และอสม.เต่างอย ช่วยพิจารณาคัดเลือกคนพิการในชุมชนเข้าร่วมอบรม และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ไม่สามารถลงพื้นที่ได้ แต่ได้รับความร่วมมือจากนักออกแบบผู้ที่มีความรู้และมีความสามารถด้านการออกแบบและหัตถกรรมในพื้นที่เข้าไปช่วยสอนคนพิการถึงในชุมชนตามหลักสูตรคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ. เป็นผู้ออกแบบ ทำให้การทำงานผ่านไปได้ด้วยดี”           ผศ.วรนุช…

วิทยานิพนธ์ “ข้อต่อกาว” จากทฤษฎีเอกภาพ งาน ป.โท คุณภาพระดับสากล

หนึ่งในการวัดผลขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ หรือแต่ละมหาวิทยาลัยก็คือ จำนวนชิ้นหงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งส่วนใหญ่งานที่ได้รับการตีพิมพ์จะเป็นผลงานวิจัยของอาจารย์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ หรือเป็นผลงานของนักศึกษาหรือนักวิจัยตั้งแต่ระดับปริญญาเอกขึ้นไป