บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

ฟีโบ้ ใช้เทคโนโลยี AI พัฒนาการทำงานข้อเข่าเทียมเพื่อคนพิการ

“ชุดระบบหุ่นยนต์ “มดบริรักษ์” ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้หันมาสนใจเรื่องทางการแพทย์ ทำให้เปลี่ยนความคิดจากเดิมที่ไม่คิดว่านักเทคโนโลยีจะช่วยทางการแพทย์ได้ แต่หลังจากที่เป็นส่วนหนึ่งในทีมพัฒนาหุ่นยนต์มดบริรักษ์ มองว่านักเทคโนโลยีก็สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ไปช่วยแพทย์เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสังคมได้” นายวุฒิชัย วิศาลคุณา รักษาการรองผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) กล่าว นายวุฒิชัย กล่าวว่า ตนเองและทีมวิจัยพัฒนาฝ่ายอุตสาหกรรม ร่วมกับนักศึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (ฟีโบ้) มีเป้าหมายที่วางไว้ในระยะยาวในการพัฒนางานวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยทางการแพทย์ โดยมีโครงการสำคัญโครงการหนึ่ง คือการพัฒนาข้อเข่าเทียมเพื่อช่วยคนพิการขาขาด 1 ข้าง ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่ฟีโบ้ศึกษาและพัฒนามาระยะหนึ่ง จึงนำมาพัฒนาต่อยอดให้ได้ข้อเข่าเทียมที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้เป็นธรรมชาติสำหรับคนพิการให้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีจากฝีมือคนไทย มีราคาเหมาะสมและราคาถูกกว่านำเข้าจากต่างประเทศ คนพิการสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น และลดการนำเข้าจากต่างประเทศลงได้ โครงการข้อเข่าเทียมที่ปรับตัวแปรการทำงานด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นโครงการที่ได้พัฒนาต่อยอดมาจากโครงการเดิม ที่ข้อเข่าเทียมเดิมนั้นยังเป็นลักษณะกึ่งอัตโนมัติ คือ การปรับความหน่วงการเดินยังคงใช้ปุ่มปรับ ทำให้การเดินต้องอาศัยทักษะของผู้ใช้ค่อนข้างมาก ในโครงการต่อยอดนี้จึงต้องการปรับปรุงและพัฒนาข้อเข่าเทียมโดยนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาประยุกต์ใช้ในการประมวลค่าความหน่วงของข้อเข่าเทียม รวมถึงออกแบบให้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และจะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน เพื่อให้สามารถนำไปใช้จริงได้ต่อไป นายวุฒิชัย กล่าวว่า โครงการนี้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบข้อเข่าเทียม โดยมีโจทย์ว่า ต้องมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ไม่เทอะทะ มีกลไกการปรับความหน่วงแบบสำเร็จรูปมาใช้ร่วมกับระบบไฟฟ้า เพื่อให้การปรับความหน่วงของข้อเข่าเทียมรวดเร็วขึ้น และนำมาทดสอบในโปรแกรมจำลองวิธีการทำงาน หรือ…

หุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอัญมณี แก้ปัญหาขาดแคลนช่างฝีมือ

อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ที่ผ่านมาผู้ประกอบการ พบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ช่างฝีมือที่ชำนาญการเจียระไนพลอย และช่างมีอายุมาก มีปัญหาสุขภาพ สายตาไม่ดี ขณะที่แรงงานรุ่นใหม่ไม่นิยมทำงานในวงการนี้ ทำให้การผลิตพลอยไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เสียโอกาสในการขาย ทำให้ผู้ประกอบการต้องการแก้ปัญหาดังกล่าว และเพื่อเป็นการยกระดับสินค้าให้ได้มาตรฐานเพื่อกระตุ้นการแข่งขันและเพิ่มปริมาณพลอยที่กำลังผลิตขาดหายไป เนื่องจากอยู่ในสภาพขาดแคลนแรงงาน ทำให้มีจำนวนพลอยเข้าสู่ช่องว่างในตลาดได้มากขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าว จึงเป็นที่มาของการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 จากชุดโครงการ “การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม” ปีงบประมาณ 2562 สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลงานโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพร โรจนนันต์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุรศิษฐ์ โรจนนันต์ รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพร โรจนนันต์ กล่าวว่า หุ่นยนต์เจียระไนพลอยที่พัฒนาขึ้นนี้มีความโดดเด่นมากเมื่อเปรียบเทียบกับการเจียระไนพลอยแบบดั้งเดิม หุ่นยนต์เจียระไนพลอย 3 in 1 ทำงานอัตโนมัติ ถูกออกแบบกลไกของระบบการเจียระไนพลอยให้มีจานเจียระไนวางซ้อนในแนวดิ่งซ้อนเหลื่อมกันหลายจานในเพลาเดียวกัน สามารถทำงาน 3 กระบวนการที่สำคัญของการเจียระไนพลอยแบบต่อเนื่องกันจนสำเร็จ ประกอบด้วย…