บทความ พร้อม ภาพถ่ายงานวิจัย ภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน
ปัจจุบันมีกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และร้อยละ 80 ของกลุ่มเสี่ยงอาจจะยังไม่เคยได้รับการตรวจวัดค่ามวลกระดูก และในไทยเครื่องวัดมวลกระดูกมีเฉพาะในบางโรงพยาบาลเท่านั้น ดังนั้นเครื่องวัดมวลกระดูกแบบพกพาที่ผลิตขึ้นใหม่นี้จะเน้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องวัดมวลกระดูกที่โรงพยาบาลบ่อยๆ เช่น ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุน และกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งกระดูก ทำให้ผู้ป่วยสามารถวัดได้ด้วยตัวเอง เพื่อหาความผิดปกติเบื้องต้น โดยไม่ต้องเดินทางไปโรงพยาบาล นอกจากนั้นแล้ว ยังมีราคาไม่สูง มีขนาดเล็ก ใช้งานง่าย รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด (SMART LAB) และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้ร่วมมือกับ ศ.ดร. ชิเกโอะ ทานากะ มหาวิทยาลัยคานาซาวา (Kanazawa University) เปิดเผยว่า ทางห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาดได้มีความร่วมมือกับม. คานาซาวา มาอย่างต่อเนื่อง โดยเครื่องวัดมวลกระดูกแบบพกพา ได้พัฒนาต่อยอดจากงานวิจัยเดิมเกี่ยวกับนวัตกรรมการเพิ่มจำนวนเซลล์กระดูกที่งานวิจัยนี้สำเร็จแล้ว และใช้เวลาวิจัยกว่า 2 ปี เครื่องมือวัดมวลกระดูกแบบพกพา สามารถตรวจได้สะดวก รวดเร็ว โดยการฉายแสงแอลอีดีที่ข้อมือผู้ป่วย ในขณะที่เครื่องแบบขนาดใหญ่ตามโรงพยาบาลที่วัดมวลกระดูกเพื่อตรวจโรคกระดูกพรุนผู้ป่วยต้องนอนหรือนั่งลักษณะการทำงานเป็นการ X-ray เพื่อสแกนค่าการตรวจความหนาแน่นของกระดูก (Bone mineral density (BMD) อีกทั้งเครื่องมือยังมีเพียงบางโรงพยาบาลเท่านั้น หลักการของเครื่องมือวัดมวลกระดูกแบบพกพานี้ ใช้หลักการของแสงแอลอีดีที่มีความยาวคลื่นเฉพาะที่มีปฎิกิริยากับแคลเซียม…
มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ด้านวิชาการและวิจัยพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ เพื่อร่วมกันพัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ พิธีลงนามความร่วมมือจัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 ณ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิจัยและพัฒนาวัสดุฉลาดเพื่องานทางการแพทย์ครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน ที่จะช่วยกันสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการแพทย์ของไทยอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของงานวิจัยวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาพรวมของวงการแพทย์ไทยในระดับสากล และส่งผลต่อการมีสุขภาพดีของคนภายในประเทศต่อไป การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในวันนี้ เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ที่จะทำให้องค์ความรู้และผลงานที่เป็นผลิตภัณฑ์ ขยายผลออกไปในวงกว้าง รวมถึงร่วมมือวิจัยและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ ซึ่งผลที่ได้ จะเป็นประโยชน์ต่องานสาธารณสุขของประเทศ ดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชน เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จสู่สาธารณสุข ๔.๐ ตามยุทธศาสตร์ชาติ และสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้โดยสำเร็จ สมบูรณ์ อันจะนำไปสู่ความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ในสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด กล่าวว่า ครั้งนี้เป็นความร่วมมือในการทำงานวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจนระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ที่มีความเข้มแข็งทั้งคู่ เรามองเห็นปัญหาเดียวกัน…
สภาวะเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อบริเวณเข่าเป็นหนึ่งในโรคที่พบมากในผู้สูงอายุ ซึ่งเกิดจากการสึกกร่อนตามวัย หรือเกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ แนวทางการรักษาโรคนี้มีตั้งแต่การทำกายภาพบำบัด การใช้ยา ไปจนถึงการผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าโดยใช้วัสดุไททาเนียมมาทดแทน ในปัจจุบันแพทย์ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อมาใช้ในการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยการฉีดเซลล์กระดูกอ่อน (Chondrocytes) ไปยังบริเวณข้อเข่าที่เสียหาย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่ แต่เซลล์กระดูกอ่อนที่ฉีดเข้าไปเป็นเซลล์เดี่ยวๆ ไม่ได้เกาะตรงบริเวณเป้าหมาย จึงเกิดการฟื้นฟูของเนื้อเยื่อใหม่ได้ไม่ดีนัก แต่ด้วยเทคโนโลยีแผ่นเซลล์ (Cell Sheet Technology) ที่สามารถสร้างเซลล์กระดูกอ่อนให้มีลักษณะเป็นแผ่นหลายชั้นได้ จะช่วยให้แพทย์สามารถเคลื่อนย้ายไปแปะลงบนบาดแผลกระดูกอ่อนได้ง่ายและตรงจุดมากยิ่งขึ้น จากแนวทางการรักษาข้อเข่าเสื่อมแบบใหม่ที่ต้องอาศัยเนื้อเยื้อกระดูกอ่อนที่มีคุณภาพและจับต้องได้โดย ศ.นพ.สารเนตร์ ไวคกุล และ อ.ดร.นพ.โพชฌงค์ โชติญาณวงษ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงเป็นจุดเริ่มต้นงานวิจัยของ ดร.โศภิตา วงศ์อินทร์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ศูนย์บริการผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งในขณะนั้นได้รับทุนวิจัยโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) โดยมี รศ.ดร.ขวัญชนก พสุวัต หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ผลิตผลงาน “การสร้างแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนหลายชั้นเพื่อรักษาการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนผิวข้อ” โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้แพทย์สามารถนำแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนนี้ ไปแปะตรงบริเวณกระดูกอ่อนผิวข้อที่เสียหายได้ ดร.โศภิตา กล่าวว่า งานวิจัยนี้ได้นำเซลล์กระดูกอ่อนบริเวณข้อเข่าของผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยว่าต้องตัดเข่าทิ้งมาแยกเอาเซลล์กระดูกอ่อน แล้วนำเซลล์เหล่านี้ไปเพิ่มจำนวนในห้องปฏิบัติการให้มากพอ จากนั้นจึงนำไปสร้างเป็นแผ่นเซลล์กระดูกอ่อนด้วยเทคโนโลยีแผ่นเซลล์ ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตเนื้อเยื่อแบบใหม่ที่อาศัยการเลี้ยงเซลล์บนภาชนะที่ตอบสนองต่ออุณหภูมิและการปรับเปลี่ยนสภาวะในการบ่มเซลล์…