บทความ พร้อมภาพถ่ายอาจารย์ หรือนักศึกษาเจ้าของผลงาน

มจธ. ชนะเลิศเวที ASEAN Energy Awards 2020 ประเภทพลังงานหมุนเวียน

ชุดกังหันกระแสน้ำผลิตไฟฟ้านวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive Innovation of Hydrokinetic Turbine) พัฒนาโดย ผศ.ดร.อุสาห์ บุญบำรุง และคณะนักวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับรางวัลชนะเลิศ ASEAN Renewable Energy Projects Awards 2020 ด้านพลังงานทดแทน (Renewable Energy Awards) ประเภทพลังงานหมุนเวียน (Special Submission) จากเวที ASEAN Energy Awards 2020 โดยศูนย์พลังงานอาเซียน (ASEAN Centre for Energy: ACE) ชุดกังหันกระแสน้ำผลิตไฟฟ้า (Hydrokinetic turbine) ออกแบบให้มีพิกัดกำลังไฟฟ้าที่เพียงพอสำหรับการใช้งานของครอบครัวในชนบท ประสิทธิภาพสูงเทียบเท่ากับกังหันนำเข้าจากต่างประเทศ ขณะที่ราคาต่ำกว่า ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมทั่วถึง (Inclusive innovation) รองรับการใช้งานในหลากหลายภูมิประเทศ ครอบคลุมถึงการใช้งานในลำธารและในทะเล ผศ. ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าโครงการ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มจธ. กล่าวว่า…

“แบบจำลองการทำนายค่าฝุ่น PM2.5” ของนักเรียน วมว. คว้ารางวัลเหรียญทองเวทีนานาชาติ สาขาสิ่งแวดล้อม

“ดีหรือไม่หากสามารถพยากรณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ในแต่ละวันในพื้นที่ต่างๆ ได้” จุดเริ่มต้นไอเดียผลงานแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม “DEEP LEARNING MODEL FOR AIR QUALITY PREDICTION” นวัตกรรมสร้างสรรค์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ในการสร้างแบบจำลองการทำนายค่าฝุ่น PM2.5 เพื่อประเมินสภาวะอากาศในแต่ละพื้นที่ พัฒนาโดย นายธีรวัฒน์ เชื้อพันธ์งาม นายวสุพล เฮงศรีธวัช และนายกฤติน ถิระศักดิ์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (วมว.) โรงเรียนดรุณสิกขาลัย โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.เอกพงษ์ หิรัญสิริสวัสดิ์ สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ และดร.ธีรสิทธิ์ เติมสายทอง สถาบันการเรียนรู้ มจธ. 1 ใน 6 ผลงานตัวแทนประเทศไทยนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาตินักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 28 ที่ได้รับการคัดเลือกจากผลงานที่ส่งเข้าร่วมจำนวนกว่า 25 โครงงาน จากโรงเรียนบ่มเพาะนักวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ โดยแบ่งตามกลุ่มสาขา เช่น สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาสิ่งแวดล้อม…

ศาสตราจารย์นักวิจัย มจธ. ที่ 1 ในไทยจากการจัดอันดับโดย The Reuters Hot List 2021 ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก

          เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) ได้จัดอันดับ 1,000 นักวิจัยทางด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก หรือ The Reuters Hot List 2021 ซึ่งผลการจัดอันดับในปีนี้ Prof. Dr. Shabbir H. Gheewala (ศ. ดร.แชบเบียร์ กีวาลา) หัวหน้าศูนย์วิจัยการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้รับการจัดอันดับที่ 552 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ทั้งนี้การจัดอันดับถูกพิจารณาจาก 3 ด้านหลัก คือ จำนวนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการเผยแพร่ จำนวนครั้งของการที่งานวิจัยเหล่านั้นถูกอ้างอิงถึงในสาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น ชีววิทยา เคมี หรือ ฟิสิกส์ เป็นต้น และจำนวนครั้งของการอ้างอิงผลงานวิจัยเหล่านั้นในสื่ออื่นๆ เช่น สิ่งพิมพ์ โซเชียลมีเดีย และเอกสารเชิงนโยบายต่างๆ ทั้งนี้การประเมินผลกระทบของผลงานวิจัยเป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นโดยบริษัท Digital Science…